นโยบายการเงินกับตลาด Forex
การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกนั้นก็เพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศตัวเอง โดยนโยบายการเงินถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะคอยควบทิศทางของเศรษฐกิจได้
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน
- ปริมาณเงิน (Money supply) : อัตราเงินสดสำรอง,อัตราซื้อลด และอื่นๆ
- อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) : ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
- และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) : กำหนดอัตราดอกเบี้ย
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะมีผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและค่าเงินในประเทศนั้นๆ
มาดูประเภทของการใช้นโยบานทางการเงิน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary monetary policy) – ค่าเงินอ่อน
เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยจะเพิ่มปริมาณเงินในระบบให้มากขึ้น เพื่อให้ธนาคารปล่อยกู้ทั้งภาคครัวเรือน และภาคเอกชน ให้เกิดการบริโภคและการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยให้การกู้ยืมได้ง่ายขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต
- นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary monetary policy) – ค่าเงินแข็ง
เป็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงเศรษฐกิจเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางอยากได้การเติบโตนั้นเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สามารถทำได้โดยการ ลดปริมาณเงินในระบบ , เพิ่มอัตราดอกเบี้ย (ดอกแพงคนไม่อยากกู้) เพื่อทำให้การบริโภคและการลงทุนนั้นชะลอตัวลง
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องดูควบคู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นในการกำหนดนโยบายก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่ธนาคารกลางต่างๆมักใช้เป็นตัวในการกำหนดนโยบาย เพราะว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
ผลกระทบของเงินเฟ้อ (กรณีเงินเฟ้อสูงขึ้น)
- ผลต่อประชาชนทั่วไป : รายจ่ายสูงขึ้น อำนาจซื้อน้อยลง
- ผลต่อธุรกิจ : สินค้าแพงขึ้น ยอดขายลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น , ความสามารถการแข่งขันลดลง เนื่องราคาสินค้าส่งออกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
- ผลต่อประเทศ : เศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากประชาชนบริโภคน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายได้ การลงทุนก็ชะลอออไป
ซึ่งเทรดเดอร์อย่างเราๆอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวก็จริง แต่อย่างลืมว่าแนวโน้มใหญ่ของค่าเงินต่างๆนั้น มันมาจากการนโยบายทางการเงินทั้งนั้น โดยผลจากนโยบบายทางเศรษฐกิจอาจร่วมกินเวลาถึง 1 – 2 ปี ถ้าเราอยู่ฝั่งเดียวกับทิศทางที่ถูกต้อง ก็จะสร้างความได้เปรียบในการเทรดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทีมงาน : forexfactorythai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น