วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อย่าเสี่ยงเกิน 2%

อย่าเสี่ยงเกิน 2%

            คำแนะนำของเทรดเดอร์มืออาชีพหลายท่านที่อยู่ในตลาด Forex แห่งนี้มานาน ที่ประสบความสำเร็จและสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่องในตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่ได้แนะนำไปในทิศทางเดียวกับเลยคือ “อย่าเสี่ยงเกิน 2% ต่อ 1 การเทรด” ... หลายคนสงสัย ทำไมต้องแค่ 2% ทำไมไม่เสี่ยงเพิ่มมากกว่านั้น เพื่อที่จะให้พอร์ตเราโตเร็วๆขึ้น ???


            หลักสำคัญของการเทรดจริงๆแล้วคือการ “จัดการความเสี่ยง” อย่าลืมว่าเทรดเดอร์อย่างเราๆนั้นในการเทรดต้องใช้ “เงิน” หากเงินเราหมด เราก็จะไม่สามารถเทรดได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของอาชีพเทรดเดอร์เลยคือ รักษาเงินทุน ให้ได้เป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องกำไรหรือผลตอบแทนเป็นเรื่องรอง เนื่องจากเราไม่สามารถทำนายอนาคตได้ว่าเราจะกำไรเท่าไหร่ ตลาดจะเป็นคนกำหนดให้เราเองในเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ ความคุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
            กลับมาเรื่อง อย่าเสี่ยงเกิน 2% ต่อ 1 การเทรด กันดีกว่า … เรามาดูตารางเปรียบเทียบกันว่าถ้าหากเปิดความเสี่ยงที่ 2% กับ 10% ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ดูตามตารางด้านล่าง
#มูลค่าพอร์ต2%#มูลค่าพอร์ต10%
1$20,000$4001$20,000$2,000
2$19,600$3922$18,000$1,800
3$19,208$3843$16,200$1,620
4$18,824$3764$14,580$1,458
5$18,447$3695$13,122$1,312
6$18,078$3626$11,810$1,181
7$17,717$3547$10,629$1,063
8$17,363$3478$9,566$957
9$17,015$3409$8,609$861
10$16,675$33310$7,748$775
11$16,341$32711$6,974$697
12$16,015$32012$6,276$628
13$15,694$31413$5,649$565
14$15,380$30814$5,084$508
15$15,073$30115$4,575$458
16$14,771$29516$4,118$412
17$14,476$29017$3,706$371
18$14,186$28418$3,335$334
19$13,903$27819$3,002$30
            เห็นความแตกต่างไหมครับ ว่าหากเราเกิดแพ้ติดต่อกัน 19 ครั้ง มูลค่าพอร์ตของพอร์ตที่เปิดความเสี่ยง 2% กับ 10% แตกต่างกันค่อนข้างเยอะ โดยพอร์ตที่เปิดความเสี่ยง 2% มูลค่าพอร์ตสุดท้ายอยู่ที่ $13,903 (30% ของมูลค่าพอร์ตเริ่มต้น) ส่วนพอร์ตที่เปิดความเสี่ยง 10% มูลค่าพอร์ตสุดท้ายอยู่ที่ $3,002 (85% ของมูลค่าพอร์ตเริ่มต้น)
            ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงเลยคือเมื่อเราเจอช่วง Drawdown เราต้องคำนวณว่าพอร์ตเราจะรับได้หรือไม่ ให้อยู่รอดในการเทรดตลาด Forex แห่งนี้ได้


            และยิ่งถ้ามูลค่าพอร์ตเราน้อยลงเท่าไหร่ ความยากของการทำให้พอร์ตฟื้นคืนกลับมานั้นมากกว่า 2 เท่า เนื่องจากเราต้องอาศัย %ของการชนะที่มากกว่า ถึงจะกลับมาเท่าทุนหรือกำไร ยกตัวอย่างเช่น สมมติพอร์ตเรา $10,000 เราเทรดแพ้ไป 50% คือพอร์ตเราเหลือมูลค่า $5,000 แต่ในการปั้นพอร์ตให้กลับไปที่เดิมที่ $10,000 นั้นเราต้องชนะถึง 100% ถึงกลับไปเท่าเดิม ซึ่งสิ่งนี้ไม่สมดุลกันอย่างเห็นได้ชัด

การแพ้การชนะที่จะกลับมาเท่าทุน
10%11%
20%25%
30%43%
40%67%
50%100%
60%150%
70%233%
80%400%
90%900%

            ยิ่งเราแพ้มากเท่าไหร่ ความยากของการเอาคืนยากมากคืนเท่านั้น นี่เป็นหนึ่งสิ่งที่เราควรทำทุกวิธีการเพื่อปกป้องพอร์ตของเรา ดังที่เทรดเดอร์มืออาชีพหลายท่านให้ควบคุมความเสี่ยงอยู่ที่ 2% ของพอร์ต ซึ่งจะช่วยให้เราอยู่รอดในตลาดแห่งนี้ได้ … พอร์ตเราต้องอยู่รอดในช่วงแพ้ติดต่อกัน และหลีกเลี่ยงขนาด Drawdown ที่ลึก

ทีมงาน : forexfactorythai.com

แผนการเทรด

แผนการเทรด

            ก่อนจะไปเข้าเรื่องการวางแผนการเทรดว่า “โคตรสำคัญแค่ไหน” นั้น อยากจะแนะนำให้เทรดเดอร์หลายๆคนก่อนว่า “เป็นตัวของตัวเอง” … หมายความว่าอย่าไปเทรดตามใคร อย่าไปใช้กลยุทธ์ตามใคร อย่าไปรันระบบตามใคร อย่าไปใช้ความเสี่ยงตามใคร เนื่องจากทุกคนล้วนมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป เราควรใช้วิธีการเทรด , กลยุทธ์การเทรด , หรือระดับความเสี่ยงที่รับได้ ที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ไม่ต้องไปตามคนอื่น เพราะว่าวิธีที่อื่นใช้ได้ผล มันอาจไม่ได้ผลกับเราก็ได้
            มาเข้าเรื่อง “แผนการเทรด” กันดีกว่า การวางแผนการเทรดถือว่าสำคัญที่สุดของอาชีพเทรดเดอร์เลยก็ว่าได้ พวกวิธีการเทรดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการเทรดเท่านั้น การวางแผนการเทรดจะเป็นตัวคอยพัฒนาการเป็นเทรดเดอร์ของเรา คอยควบคุมตัวเรา คอยป้องกันไม่ให้เรานอกลู่นอกทาง … เสน่ห์ของอาชีพเทรดเดอร์นั้นคือ ไม่มีใครมีควบคุมเรา ดังนั้นเราต้องควบคุมตัวเราเองให้ได้ ผลลัพธ์มันขึ้นอยู่กับเราทั้งนั้นว่า เราจะทำมันให้ดี หรือเราจะทำมันพัง … มาดูสิ่งสำคัญของการวางแผนการเทรดกันเลยดีกว่า


ประโยชน์ของการวางแผนการเทรด
  • ช่วงให้การเทรดง่ายขึ้น เพราะมีแผนที่ชัดเจน
  • ลดความตึงเครียดในการเทรด
  • สามารถวัดประสิทธิภาพของผลการเทรด , หาจุดบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขได้
  • คอยป้องกันปัญญาจิตวิทยาการเทรดได้มาก
  • ลดการเทรดที่แย่ลงได้
  • แผนการเทรดช่วยให้เราควบคุมสิ่งที่เราควบคุมได้ ก็คือตัวเราเอง
  • ช่วยเสริมสร้างวินัยในการเทรดในตัว
  • เปรียบเสมือนแผนที่นำทางของเรา ว่าเราจะเดินไปในทางใด (ปลายทางของเทรดเดอร์คือเทรดกำไรอย่างต่อเนื่อง)
  • รับรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง และทำให้เราแก้ไขมันได้อย่างรวดเร็ว


            ถึงอย่างไรก็ดี การทำแผนการเทรดนั้น เป็นกระบวนการที่อาศัยความต่อเนื่อง ไม่ได้ตายตัว ต้องปรับปรุงเรื่อยๆ ต่อเนื่องตามการพัฒนาของตัวเทรดเดอร์ สิ่งสำคัญในการเทรดก็คือ ปิดความผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุด และพัฒนาสิ่งถูกต้องให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และสุดท้ายเราจะก็จะเป็นเทรดเดอร์ที่สามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืน

ทีมงาน : forexfactorythai.com

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประเภทเทรดเดอร์ใน Forex


ประเภทเทรดเดอร์ใน Forex

            เทรดเดอร์แต่ละคนสไตล์การเทรดก็แตกต่างกันออกไป แต่ละสไตล์ลักษณะการเทรดก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเทรดเดอร์คนนั้นว่าจะเลือกสไตล์ไหนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยในการเทรด Forex นั้นหลักๆ สามารถแบ่งประเภทเทรดเดอร์ได้ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
  1. Scalper
  2. Day trader
  3. Swing trader
  4. Position trader
Scalper: เป็นพวกกินคำเล็ก เล่นสั้นๆ สามารถทำกำไรเพียงในกี่วินาที หรือเต็มที่ก็ประมาณนาที วัตถุประสงค์หลักของการเทรดสไตล์นี้คือเก็บกำไรเล็กๆ บ่อยๆ อาศัยจังหวะที่ตลาดผันผวน ในช่วงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ หรือข่าวสำคัญๆ
Day trader: เล่นจบในวัน จะไม่ถือสถานะข้ามวัน กำไรขาดทุนรู้ภายในวันนั้น มักจะเริ่มเล่นตั้งแต่ต้นตลาดเปิดและหาจังหวะการเข้าออกตามแผนการวิเคราะห์ของเทรดเดอร์คนนั้นๆ


Swing trader: เล่นรอบถือข้ามวันได้ เล่นเป็นรอบๆ ไม่ต้องมานั่งเฝ้ากราฟตลอดทั้งวัน มักใช้เวลากับแผนการเทรดมากกว่า
Position trader: เป็นการเล่นยาว สามารถถือสถานะได้เป็นหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน เทรดเดอร์สไตล์นี้มักให้น้ำหนักกับข้อมูลพื้นฐานเป็นอย่างมาก เมื่อจะกำหนดสถานะจะพิจารณาจากพื้นฐานเป็นหลัก
            แต่ละสไตล์ก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป เราควรเลือกสไตล์การเทรดให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ไม่จำเป็นต้องไปเทรดตามคนอื่น เพราะว่าทุกคนล้วนมีลักษณะนิสัยแตกต่างกัน บางคนเก่งเดย์เทรด แต่พอไปเล่นสวิงเทรดกับแย่ บางคนเก่งสวิงเทรด แต่พอไปเดย์เทรดก็ขาดทุน ดังนั้นเลือกเล่นในเกมส์ที่เราถนัด และฝึกฝันมันให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงขึ้นจนทำให้เราสามารถสร้างกำไรจากตลาด Forex แห่งนี้ได้อย่างต่อเนื่อง

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ทำไมต้องทำบันทึกการเทรด

ทำไมต้องทำบันทึกการเทรด


ย้ำอยู่เสมอว่าสิ่งที่เป็นตัวสร้างให้เทรดเดอร์ในตลาด Forex นั้นจะก้าวข้ามไปสู่ในจุดที่สามารถทำกำไรในระยะยาวได้นั้นต้องทำ “บันทึกการเทรด” กันทั้งสิ้น … การทำบันทึกการเทรดนั้นเป็นประตูแรกที่จะพาเราไปสู่การเทรดกำไรในระยะยาว


การเทรดโดยปราศจากบันทึการเทรดนั้นไม่ต่างอะไรกับ การขับรถเดินทางโดยไม่มี GPS นำทาง สุดท้ายเราก็จะหลง และก็ต้องหยุดการเดินทางนั้น การเทรดก็เช่นเดียวกัน เราต้องมีตัวนำทาง ต้องรู้ว่าการเทรดของเราจะเดินไปในทางไหน ไม่ใช่เทรดไปวันๆ โดยไม่รู้จุดหมาย ไม่รู้ว่าไม้ที่เทรดนั้นดีหรือแย่ เมากับการเทรด ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในอาชีพเทรดเดอร์ โปรดอย่าละเลยสิ่งนี้เลยนะครับ

บันทึกการเทรดจะคอยช่วยเราสามารถตรวจสอบรายละเอียดของการเทรดได้ว่า ผลตอบแทนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร การบริหารความเสี่ยงนั้นดีแค่ไหน และข้อผิดพลาดนั้นมีอะไรบ้าง ทำให้เราทราบถึงจุดที่ควรปรับปรุง และสามารถนำไปพัฒนาแก้ไขในจุดดังกล่าวได้


ฟังดูง่ายนะครับไอ้บันทึกการเทรดเนี่ย 
แต่เชื่อเลยหลายคนทำได้แปปเดียวก็เลิก ไม่ทำต่อ คิดว่าไม่จำเป็น และสุดท้ายก็ลงเอยเหมือนเดิมคือการเจ๊ง … มันยากตอนเริ่มครับ แต่ถ้าลองได้ทำดูแล้วจะเห็นถึงคุณค่าและความคุ้มค่าที่ทำมัน … ไม่ต้องเชื่อนะครับ ไปลองทำดู

ส่วนบางคนบอกว่าทาง Broker มีบันทึกการเทรดของเราให้อยู่แล้ว มี Transaction ของการซื้อขายย้อนหลังให้เราดูตลอด … สิ่งนี้มันบอกได้แค่ว่า เราเข้าออกตรงไหน แต่มันไม่ได้บอกว่าทำไมตอนนั้นเราถึงเข้า และทำไมตอนนั้นเราถึงออก … ซึ่งสิ่งนี้ไปนำไปสู่การพัฒนา การปรับปรุง เพื่อให้การเทรดของเราดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวเสริมสร้างวินัย และคอยคุมอารมณ์การเทรดให้กับเทรดเดอร์ไม่เอาอารมณ์ไปผูกติดกับการเคลื่อนไหวของราคาหรือการกำไรขาดทุนของพอร์ต

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ทริคการเลือกขนาด Time frame

ทริคการเลือกขนาด Time frame

            เทรดเดอร์หลายคนนั้นใช้การวิเคราะห์แบบ Multiple time frame analysis หรือการวิเคราะห์หลาย Time frame นั่นเอง เทรดเดอร์ทั่วไปก็จะใช้ประมาณอยู่ที่ 3 Time frame ไว้แบ่งแยกแนวโน้มระยะสั้น , ระยะกลาง และ ระยะยาว … ปัญหาอย่างหนึ่งของเทรดเดอร์ในการเลือกใช้ Time frame นั้นก็คือ จะใช้ Time frame อะไรดีล่ะ ?? เราจะมานำเสนอทริคในการเลือกขนาด Time frame ให้กับเทรดเดอร์นั้นนำไปประยุกต์ใช้กันในการเทรดในตลาด Forex กันนะครับ



            ก่อนอื่นทริคนี้เป็นของการเลือกใช้ Time frame ในตลาดหุ้นมาก่อน แต่เราสามารถใช้หลักการนี้มาใช้กับตลาด Forex ได้เช่นกัน มาดูกันเลยว่ามีวิธีการเลือกใช้อย่างไร … การกำหนดขนาด Time frame นั้นเราจะใช้สัดส่วนของเลข “ 5 ” ในการกำหนดขนาด Time frame ต่างๆ … เทรดเดอร์หลายคนสิ่งที่คิดเลยคือทำไมต้องเลข 5 ??

            เรามาดูก่อนกันว่า Time frame ที่เทรดเดอร์ใช้กันส่วนมากนั้น คือ รายวัน , รายสัปดาห์ , รายเดือน ส่วนพวกเทรดสั้นๆ ก็ราย 240 นาที , ราย 60 นาที เป็นต้น มาดูความสัมพันธ์ของแต่ละ Time frame กันว่าแต่ละ Time frame ที่ใช้นั้นมันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
            - ภาพรายสัปดาห์ ประกอบด้วย ภาพรายวันอยู่ 5 วัน
            - ภาพรายเดือน ประกอบด้วย ภาพรายสัปดาห์อยู่ประมาณ 4.5 สัปดาห์
            - ภาพรายวัน ประกอบด้วย ชั่วโมงการเทรดอยู่ที่ 5-6 ชั่วโมงแต่วัน (ในตลาดหุ้น)



            ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละ Time frame นั้นมีความสัมพันธ์กันโดยประมาณอยู่ที่ “หาร 5” (รายเดือน หาร 5 = ราย สัปดาห์ , รายสัปดาห์ หาร 5 = รายวัน , รายวัน หาร 5 = รายชั่วโมง) ซึ่งหลักการนี้สามารถนำมาใช้ในการประกอบการกำหนดขนาด Time frame เพื่อมาใช้ในการเทรดตลาด Forex ได้เช่นกัน
ส่วนถ้าเทรดเดอร์ที่เป็นเดย์เทรด จะกำหนด Time frame ย่อยลงมาก็ได้เช่นกัน
เช่น
240 / 5 = 48 (ก็ใช้ประมาณ 60 นาทีในรายชั่วโมง)
, 60 / 5 = 12 (ก็ใช้ประมาณ 15 นาที)
ซึ่งจะได้ 3 Time frame คือ 240 นาที , 60 นาที และ 15 นาที ในการกำหนดการเทรด โดย 240 นาทีไว้ดูแนวโน้มใหญ่ , 60 นาที ไว้ดูแนวโน้มระยะกลาง และ 15 นาทีไว้ดูแนวโน้มย่อยในการเข้าเทรด
ลองเอาหลักนี้ไปใช้กันดูในการกำหนด Time frame เพื่อที่จะเทรดในตลาด Forex แห่งนี้กันนะครับ


ทีมงาน : forexfactorythai.com

ชัยชนะที่เหมาะสม

ชัยชนะที่เหมาะสม

Trading is a marathon, not a sprint! … การเทรดเป็นการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การรวยภายในช่วงข้ามคืน
หลายคนอาจคิดว่าคนที่เก่งคือคนที่กำไรเยอะๆ กำไรเร็วๆ ไม่จำเป็นต้องมีแผนการเทรดก็ได้ มองที่ผลลัพธ์ของคนเหล่านั้น โดยไม่สนวิธีการหรือที่มาที่ไป บางคนอาจจะ All-in แล้วได้ก็ได้ ซึ่งเทรดเดอร์ที่ดีไม่ควรไปโฟกัสในสิ่งเหล่านั้น มันเป็นเพียงภาพระยะสั้น พวกเขาเหล่านั้นมีโอกาสน้อยมากที่จะยืนระยะยาวได้
สิ่งที่เทรดเดอร์ควรแยกแยะให้ออกเลยคือ การชนะแบบ “เหมาะสม” กับ “ไม่เหมาะสม”
  • การชนะแบบเหมาะสม คือ เมื่อคุณทำตามแผนการเทรดที่วางไว้ตั้งแต่แรกของคุณ และการเทรดนั้นคุณชนะ ซึ่งเป็นการชนะที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างวินัยของคุณอีกด้วย
  • การชนะแบบไม่เหมาะสม คือ คุณอาจจะวางแผนไว้ตอนแรก แต่ไม่ได้ทำตามแผน แต่คุณชนะ ซึ่งสิ่งนี้เป็นการชนะที่ไม่เหมาะสม ไม่ต่างอะไรกับโยนเหรียญหัวก้อย สิ่งนี้จะเป็นตัวทำลายการสร้างวินัยของคุณ
การรักษาวินัยและทำตามแผนที่เทรดนั้นถือเป็นหัวใจของการเทรด ถ้าปราศจากแผนการเทรด การเทรด Forex นั้นจะไม่ต่างอะไรจากการพนัน … ค่อยๆ เก็บกำไรไปเรื่อยๆในการเทรด ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ถ้าเราไปเร่งการเทรด อาจจะเป็นผลร้ายกับเราในท้ายที่สุด
สิ่งสำคัญในช่วงเริ่มแรกคือทำตามแผนการเทรดของเราให้ได้อย่างต่อเนื่อง ทุกไม้ที่เทรดต้องมีแผน ถ้าขืนทำตามแผนบ้าง ไม่ทำตามบ้าง อันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการพนันเหมือนเช่นเคย ควรซีเรียสกับเรื่องนี้ สร้าง Mindset ในการเทรดว่าเราต้องทำตามแผน แล้วสุดท้ายคุณจะเป็นผู้ชนะในระยะยาว


ทีมงาน : forexfactorythai.com

ง่าย แต่ไม่ได้ กับ ยาก แต่ได้

ง่าย แต่ไม่ได้ กับ ยาก แต่ได้

            อาชีพเทรดเดอร์เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความชำนาญและการใช้เวลาในการศึกษา สั่งสมประสบการณ์ในการเทรด เพื่อก้าวไปสู่เทรดเดอร์อาชีพที่สามารถสร้างกำไรในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง … ซึ่งอาชีพเทรดเดอร์ไม่ต่างอะไรจากการทำธุรกิจส่วนตัว คือมันขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งนั้น ไม่มีใครมีกำหนดเราเลย เราจะทำมาก ได้มาก เราทำน้อย ได้น้อย แต่สิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์หลายคนนั้นไม่สามารถก้าวข้ามผ่านมีในจุดที่สามารถทำกำไรได้นั้นก็เพราะว่ายังมีสั่งสมความรู้และประสบการณ์ที่ยังไม่ถึงระดับที่สามารถทำกำไรได้ หลายคนไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ควรเสีย อย่างเช่น นั่งดูกราฟวันละ 8 – 10 ชั่วโมง , อ่านกระทู้ต่างๆ , ติดตามข่าวสารที่ไม่สำคัญกับการเทรดเท่าไหร่หนัก หรือเปลี่ยนกลยุทธ์การเทรดอยู่บ่อยครั้ง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการใช้เวลาของเราอย่างเปล่าประโยชน์ เทรดเดอร์ควรแยกแยะให้ออกว่าสิ่งไหนควรเสียเวลา และสิ่งไหนไม่ควรเสียเวลา … หลายที่เลือกการนั่งดูกราฟ มากกว่าการทำแผนการเทรด นั้นก็เพราะว่าการดูกราฟมันง่ายกว่า มันไม่น่าเบื่อ มันสนุก มันดูเท่กว่า แต่ลองมาพิจารณากันจริงๆแล้วนั้น มันไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นเลย ต่างกับถ้าเราใช้วางในการวางแผนการเทรด จะช่วยให้เราเทรดได้ดีขึ้น ตัดอารมณ์การเทรด สร้างวินัย รู้ข้อผิดพลาดต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองเพิ่มขึ้น


บางอย่างง่าย สนุก ดูเท่ – แต่มันไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นเลย
บางอย่างยาก น่าเบื่อ เครียด – แต่เกิดประโยชน์ในอนาคต
…เราจะเลือกอะไรละครับ เราเทรดเพื่อความสนุก หรือเทรดเพื่อเงิน?

ง่าย สนุก เท่ – ไม่เกิดประโยชน์ยาก เครียด น่าเบื่อ – เกิดประโยชน์
ดูกราฟวันละ 8 -10 ชั่วโมงทำแผนการเทรดทุกๆ ต้นสัปดาห์เทรด
นั่งพลิกกราฟไปมา , ไล่หาสัญญาณเทรดสร้าง Watchlist
ลอง Indicators ใหม่ๆโฟกัส Indicator ที่ใช้อยู่
ทดสอบระบบการเทรดใหม่ๆทบทวนผลการเทรดที่ใช้อยู่
ติดตามกูรูต่างๆ ที่คอยบอกสัญญาณซื้อขายจำลองสถานการณ์ในการเทรดขึ้นมาว่าถ้าเป็นอย่างงี้จะทำอย่างไรต่อ ในกรณีทั้ง ดี กลาง เลว
พูดคุยกับเทรดเดอร์แปลกหน้าไปเรื่อยๆโฟกัสที่ตัวเอง , พัฒนากลยุทธ์ของตัวเอง , ค่อยๆปรับปรุงไปเรื่อยๆ

ทีมงาน : forexfactorythai.com

การเงินเชิงพฤติกรรมกับการเทรด

การเงินเชิงพฤติกรรมกับการเทรด

            การเงินเชิงพฤติกรรม หรือ Behavioral finance เป็นศาสตร์หนึ่งของวิชาทางการเงินที่กำเนิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างทฤษฎีทางการเงินและทฤษฎีทางจิตวิทยเข้ามารวมกัน ซึ่งแนวคิดนี้จะแสดงให้เห็นว่า “อารมณ์” หรือความรู้สึกของมนุษย์นั้นมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งอารมณ์ของมนุษย์นั้นนำไปสู่ความไม่มีเหตุผลของนักลงทุน ทำให้เกิดการลงทุนที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้หแไก
            โดยหลักๆการเงินเชิงพฤติกรรมนั้นจะเน้นหลักในเรื่อง “ความอคติต่างๆ” ของนักลงทุนที่เกิดขึ้นจากข้อมูลต่างๆที่นักลงทุนได้รับ และส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของนักลงทุน ซึ่งความอคติหลักๆมีดังนี้
            Overconfident: นักลงทุนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูง คิดว่าตัวเองเก่งกว่าความสามารถจริงๆของตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การ All in , ไม่กระจายความเสี่ยง , การเทรดมากเกินไป และผลการวิจัยพบว่าเทรดเดอร์เพศชายมักมีแนวโน้มความมั่นใจมากเกินไปมากกว่าเทรดเดอร์เพศหญิง
            Hindsight errorเข้าใจถึงปัญหาหลังจากที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว และเชื่อว่าจะสามารถจะไปพยากรณ์อนาคตได้เห็นเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นซ้ำ แต่พอเกิดจริงกลับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น กราฟสร้างรูปแบบ H&S เรียบร้อยแล้วค่อยมาโม้ว่าเพราะเกิดรูปแบบนี้ถึงลง แต่พอ ณ ตอนนั้นกลับไม่ทำอะไร เป็นต้น


          Confirmation errors
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
  1. Cognitive consonance: ให้น้ำหนักข้อมูลที่ยืนยันกับความคิดตัวเองมากกว่า
  2. Cognitive dissonance: ละเลยกับข้อมูลที่ตรงข้ามกับความคิดตัวเอง
            Misunderstanding randomness: มโนรูปแบบราคาเป็นรูปแบบต่างๆ ทั้งๆที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงการแกว่งตัวทั่วไป
            Vividness bias: ให้น้ำหนักกับประสบการณ์ที่เคยเจอ เช่น เคยเทรด Breakout 3-4 ครั้ง แล้วเจอ Fail ติดต่อกัน เลยคิดว่าการเทรด Breakout นั้นใช้ไม่ได้ ซึ่งความเป็นจริงอาจจะไปเจอช่วงที่เทรดแพ้ติดต่อกัน ซึ่งโอกาสอาจเป็นเพียง 1% ของทั้งหมด เป็นธรรมชาติของการเทรดอยู่แล้ว เป็นต้น
            เทรดเดอร์ในต่าง Forex ก็ควรเข้าใจหลักการเงินเชิงพฤติกรรมนี้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเทรด ป้องกันไม่ให้เกิดความอคติต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่รอดในตลาดแห่งนี้ได้อย่างยาวนาน


ทีมงาน : forexfactorythai.com

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

6 สิ่งที่จะทำลายตัวเทรดเดอร์


6 สิ่งที่จะทำลายตัวเทรดเดอร์

อาชีพเทรดเดอร์ในตลาด Forex นั้น ถ้าจะประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบที่สมบูรณ์ คือ 1. วิธีการเทรดที่ดี 2. การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และ 3. มีจิตวิทยาในการเทรด ซึ่งถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 สิ่งนี้ เทรดเดอร์จะไม่มีทางต่อสู้กับตลาดแห่งนี้ได้เลย ดังนั้นควรจะให้ความสำคัญกับ 3 สิ่งนี้ทั้งสิ้น … โดยสิ่งที่จะเป็นตัวทำลายทำให้เทรดเดอร์ทำให้ 3 องค์ประกอบที่ว่านั้น บกพร่องมีดังต่อไปนี้

  1. เทรดโดยไม่มี Stop loss เราไม่มีทางรู้จริงๆเลยว่าแนวโน้มที่เกิดขึ้นมันจะไปไกลแค่ไหน แต่เราสามารถรู้ได้ว่าเราจะควบคุมความเสี่ยงในการเทรดของเราได้แค่ไหน กำหนดจุดตัดขาดทุน กำหนด Position size ที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้เรายังรักษาเงินทุนของเราเพื่อที่จะเทรดตอ่ไปได้ ขณะที่เราเทรดผิดทาง … การเทรดโดยปราศจาก Stop loss นั้นเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะคอยระเบิดพอร์ตของตัวเทรดเดอร์เอง การเทรดโดยหวังว่าราคาจะกลับมาที่เดิมและค่อยปิด Position นั้นก็ไม่ต่างอะไรจากการพนัน … ถ้าทางผิดก็ตัดขาดทุน แค่นั้น !
  2. มโนไปเอง : บางคนชอบคาดการณ์ตลาดว่าจะไปในทิศทางไหน ประเมินกำไรต่อเดือนแบบเข้าข้างตัวเอง … ซึ่งความจริงคือ ไม่มีใครรู้หรอกว่าตลาดจะไปทางไหน ผลลัพธ์ที่เราเทรดจะกำไรหรือขาดทุน ไม่มีใครรู้ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ … แต่สิ่งที่ควบคุมได้คือ ตัวเราเอง กลยุทธ์การเทรด ความเสี่ยงได้รับได้ และ แผนการเทรดที่วางไว้ ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ A เราจะทำอย่างไร แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ B ล่ะ เราจะทำอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
  3. Ego : เทรดเดอร์ที่มีอีโก้สูงมักจบด้วยการเจ๊งในท้ายที่สุด … เชื่อมั่นว่าตัวเองแม่น เชื่อว่าตัวเองแน่ ตัวเองเจ๋งกว่าตลาด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมีสำหรับเทรดเดอร์
  4. ดื้อ : ทำผิดอย่างเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก หวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป จากการกระทำเดิมๆ … เช่น ขอไม่ทำตามแผนเทรด สักไม้ สองไม้ หรือขยับ Stop loss ออกนิดนึง ซึ่งสิ่งเล็กๆเหล่านี้จะเป็นสาเหตุหลักที่จะทำลายตัวเทรดเดอร์ในอนาคต
  5. กำหนดจุดออกไม่เป็น : หลายคนที่หาจุดเข้าเป็น แต่หาจุดออกไม่เป็น หลายครั้งที่บ่อยกำไรใหญ่ๆ กลายเป็นขาดทุน เนื่องจากหาจุดออกไม่เป็น
  6. เล่นเกินตัว : เป็น Basic ของความผิดพลาดของเทรดเดอร์ที่พบกันบ่อยมากกก หวัง All in ทีเดียวได้กำไรคำโตๆ แต่สุดท้ายต้องจบการล้างพอร์ต


ทีมงาน : forexfactorythai.com

Risk Reward Ratio 101

Risk Reward Ratio 101

            ทางทฤษฎีของ Risk reward ratio มันง่ายมากเลยคือ ถ้าคุณลงทุนอะไรอย่างหนึ่ง โดยเสี่ยง 100 บาท เพื่อหวังผลตอบแทน 200 บาท … ถ้าชนะจะได้ 200 บาท แต่ถ้าแพ้ก็เสีย 100 บาท … ดังนั้น RRR (ต่อไปนี้ขอเรียก Risk reward ratio สั้นๆ ว่า RRR) จะเท่ากับ 100 / 200 = 0.50 .. ยิ่ง RRR ต่ำเท่าไหร่ แสดงถึงผลตอบแทนนั้นให้มูลค่ามากกว่าความเสี่ยงค่อนข้างเยอะ (ถ้าเป็น Forex อย่างนี้น่าเทรด) แต่ถ้า RRR > 1 นั้นแปลว่า ความเสี่ยงที่ลงไปนั้นมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับ (อย่างนี้ไม่น่าเทรด)
            ในการเทรดนั้นอาจเพิ่มความซับซ้อนขึ้นมาหน่อย หน่อยจะเราจะรู้ 2 อย่างคือ 1. Risk และ 2. Reward … ประเด็นมันอยู่ที่เราจะหามันได้อย่างไรให้ได้ใกล้เคียงกับความประจริง และเกิดประสิทธิภาพการเทรดมากที่สุด

Riskเริ่มต้นในการหา ความเสี่ยง ในการเทรดนั้นคือหาจุด Stop loss … ความเสี่ยงคือค่าความแตกต่างระหว่างจุดเข้าและจุด Stop loss

Rewardเป้าหมายการทำกำไร คือวัดจากจุดเข้าและจุด Take profit


ตัวอย่าง  USDEUR ถ้าเล่นสไตล์ Breakout มองรูปแบบราคาฟอร์มตัวคล้าย Double bottom เทรดเดอร์สายนี้จะเข้าเปิด Long ที่บริเวณ 0.7260 และกำหนด Stop loss ที่ Low เดิมแถวๆ  0.7150 ตั้ง Target ที่ 0.7400
คำนวณ
            Risk = 0.7260 – 0.7150 = 0.0110
            Reward = 0.7400 – 0.7260 = 0.0140
            Risk reward ratio = 0.0110 / 0.0140 = 0.7857
            Reward / risk = 1.27
หมายความว่าแทง 1 หน่วย คาดหวังผลตอบแทน 1.27 หน่วย

ส่วนในการเทรดการทราบถึง RRR อย่างเดียวคงไม่พอ ยังต้องทราบถึง %Win ของกลยุทธ์ที่เราใช้ด้วย ถ้าสมมติกลยุทธ์ที่เราใช้
สมมติ Reward / risk = 2.50
- ต้องใช้กลยุทธ์ที่มี %Win ไม่น้อยกว่า 28.57% ถึงจะเท่าทุน
 1 / (1+2.5)

            หรือสมมติ %Win = 70%
            - Reward / risk อย่างน้อยต้อง = 0.428
(1 / 0.70) - 1


            เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเทรด เราก็ควรเทรดในจังหวะที่เราได้เปรียบ ในจังหวะที่ Reward/risk สูงๆ เพราะยังมีเรื่อง slippage และค่าธรรมเนียมการซื้อขายอีกที่ยังไม่ได้เข้าไปคำนวณ ในการเทรดจริงก็ควรเอาตัวเลขเหล่านี้บวกเข้าไปอีก เพื่อความเหมาะสมในการเทรด

ทีมงาน : forexfactorythai.com