วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สูตรการชนะ

สูตรการชนะ


            เหล่าเทรดเดอร์มืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ หรือแม้กระทั่งมืออาชีพในเส้นทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น นักบอล , นักมวย , นักธุรกิจ , นักแสดง , นักร้อง , พิธีกร และในทุกๆอาชีพนั้น การขึ้นเป็นระดับที่เค้าเรียกกันว่า “มืออาชีพ” นั้นล้วนมีสูตรการชนะนี้ที่คล้ายๆ กันอยู่ 4 อย่าง คือ

  • ความหลงไหลในสิ่งที่ทำ : เลือกในสิ่งที่เราชอบ เรารักมัน มันจะทำให้เราทำสิ่งนั้นที่นานกว่าสิ่งอื่น ถ้าเราไม่ได้ทำในสิ่งที่เราชอบจริงๆ ไม่นานเดี๋ยวก็เลิก แล้วไปหาอย่างอื่นทำใหม่ เหมือนพวกมือสมัครเล่นหรือตัวปลอมเค้าทำกัน

  • ความเชื่อ : เราไม่มีทางรู้หลอกว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นผลลัพธ์ในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร แต่เราต้องมีความเชื่อว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น มันจะทำไปสู่เป้าหมายที่เราปักธงนั้นไว้ ความเชื่อนี้จะเป็นคอยให้เราสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคที่คอยบั่นทอนกำลังของเราในระหว่างการเดินทาง


  • วางแผน : มันเหมือนการขับรถก็ต้องมีแผนที่ ต้องมีปลายทาง ต้องมีการวางแผนว่าเราจะขับไปในเส้นทางไหน แล้วเส้นทางไหนมันไปถึงเป้าหมายเราไว้ที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งหลายคนขาดตรงนี้ ทำให้ไม่ไปถึงเป้าหมาย

  • ความมั่นสัญญา : ปฏิญาณต่อตัวเองว่าเราจะทำสิ่งต่างๆ อะไรก็ตามที่จะส่งเราไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ ในทุกๆวัน ทุกๆชั่วโมง ทุกๆนาที ไม่มีข้ออ้าง ไม่มีมาบอกว่าเหนื่อย ว่าติดนู้นติดนี่ สิ่งนี่มันจะช่วยให้เราค่อยๆก้าวเดินไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายวันหนึ่งจะถึงเป้าหมายของเราที่ว่าไว้ในที่สุด

            เทรดเดอร์ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ไม่ใช่ว่าใครจะเข้ามาเล่นๆ แล้วจะประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ มันยาก มันเหนื่อย เหมือนกับอาชีพอื่นๆนั่นแหละ แต่ผลลัพธ์ที่ได้รับรองว่ามันคุ้มค่ากับสิ่งที่เราเสียไปแน่นอนครับ

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ท่าง่ายไม่ต้องท่ายากก็สามารถทำกำไรได้

ท่าง่ายไม่ต้องท่ายากก็สามารถทำกำไรได้


            ท่าง่ายที่ว่านั้นเราจะมาพูดถึงการลงทุนโดยใช้เทคนิคคอล ซึ่งเทคนิคคอลที่ว่านั้นคือ “แนวรับแนวต้าน ”  แนวรับแนวต้านทุกคนคงเคยได้ยินมาบ้าง ดีไม่ดีได้ยินมาบ่อยด้วยซ้ำบางคนอาจจะเข้าใจหรืออาจจะยังไม่เข้าใจในแนวรับแนวต้านว่ามันจะเอามาใช้ในการทำอย่างไร เดียววันนี้เราจะมาลองดูกันนะครับว่ามันเป็นยังไง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าแนวรับแนวต้านคืออะไร

แนวรับแนวต้าน
             แนวรับ คือ เป็นแนวราคาที่นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่ามันลงมาต่ำแล้วถึงราคาที่เหมาะสมจะซื้อแล้ว เลยทำให้เกิดแนวรับที่นักลงทุนเข้าซื้อกันครับ
            แนวต้าน คือ เป็นแนวราคาที่นักลงทุนส่วนใหญ่เห็นว่ามันลงมาต่ำแล้วถึงราคาที่เหมาะสมจะขายแล้ว เลยทำให้เกิดแนวต้านที่นักลงทุนเทขายครับผม

และนอกจากความหมายนี้ยังมีแนวรับแนวต้านที่เป็นแนวจิตวิทยาอีก คือ แนวรับแนวต้านที่  ราคาลงเลขท้ายเป็นเลขจำนวนเต็มเช่น สมมติ ราคาอยู่ที่ 990 แล้วราคาขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้วจนถึง 1000 บาท แถวราคา 1000 บาทนี้จะมีแรงขายเป็นจำนวนมากกว่าปกติ ซึ่งเหมือนเป็นเชิงจิตวิทยาที่เป็นเลขที่ลงตัวพอดีเลยง่ายต่อการตั้งเป็นราคาเข้าซื้อหรือราคาเป้าหมายที่จะขาย

            ทีนี้เราก็พอจะเข้าใจแล้วว่าแนวรับแนวต้านคืออะไร บางคนอาจจะยังไม่เห็นภาพงั้นเดียวเราไปลองดูภาพกันนะครับว่ามันเป็นยังไง แนวรับแนวต้านเนี้ย

วิธีดูแนวรับแนวต้าน
ต้องบอกก่อนเลยว่าแนวรับแนวต้านนั้นแต่ละคนสามารถมองแตกต่างกันได้ จากรูปแนวรับแนวต้านที่ 1 นั้นก็เป็นเพียงมุมมองของตัวผมเอง แต่หลักๆนั้นจะดูได้จากราคาที่เกิดการปรับตัวเมื่อถึงราคานั้นๆเช่นจากในรูปแนวรับแนวต้านที่ 1 เราก็จะเห้นได้ว่าราคาขึ้นไปถึงตรงด้านบนนี้ถึง 3 รอบ เราก็ตั้งข้อสังเกตุได้แล้วว่าเอ๋หรือตรงนี้จะเป็นแนวต้าน ส่วนแนวรับเราก็เห็นว่าเกิดการปรับตัวขึ้นแถวราคานั้นถึง 2 รอบ ก็พอจะเป็นข้อสังเกตุได้แล้วว่านี่คือแนวรับ ซึ่งความถี่ที่ราคาไปเกิดรวมทั้งระยะห่างของแนวรับแนว
ต้านเดิมนั้นเป็น ตัวยืนยันว่าแนวรับแนวต้านนั้นใช่แนวรับแนวต้านจริง ๆ หรือป่าว ยิ่งถี่มากยิ่งเชื่อถือได้ครับผมต่อไปเรามาดูวิธีนำแนวรับแนวต้านไปใช้กันนะครับ

รูปแนวรับแนวต้านที่ 1

แนวรับแนวต้านกับการลงทุน
            แนวรับแนวต้านนั้นเป็นเสมือนกรอบที่ราคานั้นแกว่งตัวอยู่ในกรอบ เราสามารถหาจังหวะเข้าลงทุนได้จากแนวรับแนวต้านดังต่อไปนี้

  • ใช้เป็นจุดเข้าซื้อ
เมื่อราคาปรับตัวลงมาแล้วแรงขายเริ่มลดลงจะมีแรงซื้อที่จากนักลงทุนที่เห็นว่าหมดแรงขายแล้วดูได้จากรูปแนวรับแนวต้านที่ 1 เราจะเห็นว่าเมื่อราคาหมดแรงขายแล้วจะทำใหเกิดแนวรับแล้วเป็นจุดที่น่าสนใจเข้าซื้อได้

หมายเหตุ : การเข้าซื้อที่แนวรับอาจจะไม่ใช่จุดเข้าซื้อที่ดีที่สุดแต่เป็นจุดที่น่าสนใจเข้าซื้อ

  • ใช้เป็นจุดขาย
เมื่อราคาปรับตัวขึ้นมาแล้วจะมีแรงขายที่จากนักลงทุนที่เห็นว่าถึงแนวที่น่าสนใจในการขายแล้วจากรูปแนวรับแนวต้านที่ 1 เราจะเห็นว่าเมื่อราคาหมดแรงขายแล้วจะทำใหเกิดแนวรับแล้วเป็นจุดที่น่าสนใจเข้าซื้อได้

หมายเหตุ : การขายที่แนวต้านอาจจะไม่ได้ราคาดีที่สุดแต่เป็นสุดที่น่าสนใจในการขาย

  • ใช้เป็นจุดซื้อตรงแนวต้าน
บางครั้งราคานั้นจะอยู่ในกรอบแนวรับแนวต้านบางคนลงทุนไม่ชอบรออยู่ในกรอบงั้นเราก็ต้องให้มันทะลุกรอบหรือที่เราอาจจะได้ยินว่า เบรคแนวต้าน ยกตัวอย่างเช่นจาก รูปแนวรับแนวต้านที่ 1

จากรูปเราจะเห็นว่าพอราคา เบรคแนวต้านตรงครั้งที่ 3 แล้วราคามีการปรับตัวขึ้นไปอีก ซึ่งนักลงทุนบางคนอาจจะไม่ชอบซื้อตรงแนวรับเพราะไม่ชอบรอแล้วมาซื้อตรงที่ทะลุแนวต้านแล้ว ซึ่งดูจากรูปถึงจะต้นทุนสูงแต่ก็ได้กำไรอยู่
หมายเหตุ : การทะลุแนวต้านนั้นควรจะมีปริมาณการซื้อขายที่มีปริมาณมากกว่าปกติมายืนยันการทะลุแนวต้าน

  • ใช้เป็นจุด Stop loss
บางครั้งการลงทุนของเราอาจจะเกิดการผิดพลาดการ Stop loss หรือการหยุดขาดทุนนั้นก็เป็น 1 ในทางเลือกที่ใช้ในการจำกัดขาดทุนเมื่อลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่คิด

จากรูปจะเห็นว่าราคามีการทะลุแนวต้านไปแล้วซึ่งตามหลักแล้วราคาควรขึ้นต่อแต่ราคาขึ้นไประยะหนึ่งแล้วกลับมีการปรับตัวลดลงถ้าเราเข้าซื้อที่แนวรับ อาจจะยังไม่มีปัญหาเราอาจจะกำไรอยู่นิดหน่อย หรือบางท่านอาจจะขายไปแล้วตอนเบรคแนวต้านหรือขายที่แนวต้าน แต่สำหรับผู้ที่ตามมาซื้อตรงแนวต้านนั้น ก็สามารถใช้แนวต้านที่เข้าซื้อนั้นมาเป็นจุด Stop loss ได้เมื่อการเข้าลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่คิดถ้าเรา Stop loss ที่แนวต้านเราอาจจะไม่ได้กำไรแต่เราก็ไม่ขาดทุนหนักจากการที่ราคาปรับตัวลงมา
หมายเหตุ : อาจจะเกิดการเด้งกลับของราคาก็ได้แต่การใช้แนวรับเป็นตัว Stop loss เป็นเครื่องมือหนึ่งในการใช้ตัดสินใจ Stop loss

หลายคนคงเห็นภาพมากขึ้นในการนำแนวรับแนวต้านไปใช้ แต่ต้องบอกก่อนว่าถ้าคุณมองแนวรับแนวต้านต่างกับคนอื่นนั้นไม่ผิดเพราะแนวรับแนวต้านนั้นแล้วแต่ใครจะมองครับ ผมหวังว่าแนวรับแนวต้านจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้การลงทุนสำหรับนักลงทุนทุกท่านลงทุนได้ง่ายขึ้นในการลงทุน

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 2

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 2



มาดูในส่วนการนำเสนอของทาง Robert Rhea เกี่ยวกับทฤษฎีดาวกันบ้างดีกว่า โดยเขาได้แบ่งแนวโน้มของราคาออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. Primary Trend
เป็นเทรนแนวโน้มระยะยาวที่สุด และเป็นเทรนที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวม การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น ราคาหุ้น โดยใช้เววลาไม่ต่ำกว่า 1ปี หรือมากกว่านั้น เมื่ออยู่ในรูปแบบขาขึ้น จะเรียกว่า “Bull Trend” หากอยู่ในเทรนขาลง จะเรียกว่า “Bear Trend”

  1. Secondary Trend เทรนแนวโน้มรอง
ซึ่งรูปแบบเทรนนี้ จะตรงข้ามกับ "Primary Trend" หาก Primary Trend เป็นเทรนขาขึ้น Secondary Trend ก็จะเป็นการย่อตัวระยะสั้น (ย่อตัว เพื่อขึ้นต่อ) โดยจะใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ ถึง หนึ่งเดือน และ จะย่อตัวประมาณ 33% หรือ 66% จากที่ดัชนี(เทรนหลัก) ทะยานขึ้นมาและหาก Primary Trend เป็นเทรนขาลง Secondary Trend ก็จะเป็นการฟื้นตัวระยะสั้น (เด้งเพื่อ ลงต่อ) โดยจะใช้เวลา หนึ่งสัปดาห์ ถึง หนึ่งเดือน และ จะฟื้นตัวขึ้นไปประมาณ 33% หรือ 66% จากที่ดัชนี (เทรนหลัก) ร่วงลงมา

  1. Minor Trend เทรนระยะสั้น
เป็นเทรนแนวโน้มเล็กๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ Secondary Trend เป็นการเคลื่อนไหวแกว่งตัวราคาหุ้นในแต่ล่ะวัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ รูปแบบเทรนจึงจะเปลี่ยนไป

ซึ่งถ้านับตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า  Dow theory นั้นเป็น "ปรัชญา ของการวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค" เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลากหลายศาสตร์การวิเคราะห์หุ้น ด้วยปัจจัยทางเทคนิค ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Elliott wave, Price Pattern , Psychology trading  ซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่ใช้บอกถึงอารมณ์ของตลาดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถบอกถึง จุดกลับตัว (Reversal)ของราคาหุ้นหรือตลาดหุ้นได้ดีอีกด้วย และหลักการ Dow theory ยังต่อยอดพัฒนามาเป็น Indicator ต่างๆ ที่นักลงทุนในปัจจุบันได้ใช้วิเคราะห์ แนวโน้ม,สัญญาณ ซื้อขาย ของราคาหุ้น,ดัชนีตลาดหุ้น ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงต้องขอบคุณ Charles H. Dow , William Peter Hamilton ,Robert Rhea พวกเขาเหล่านี้ ที่ได้พัฒนาต่อยอด Dow Theory ให้สมบูรณ์แบบ และเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 1

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 1



Dow Theory ถูกคิดค้นโดย Charles H. Dow ย้อนไปเมื่อปี คศ.1882 Charles H. Dow และ Edward Jone สองคนเพื่อนรัก ร่วมก่อตั้ง หนังสือพิมพ์ "The Wall Street Journal" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน, เศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นบรรณาธิการ อีกด้วย ภายหลังจากก่อตั้งหนังสือพิมพ์เรียบร้อยแล้ว Charles H. Dow ต้องการจะเขียนข่าวเกี่ยวกับ การเงิน การลงทุน แต่ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีตลาดหุ้น ที่จะให้เขาได้นำมาเขียนข่าว ดังนั้น Charles H. Dow และ Edward Jone ทั้งสองจึงมีแนวคิด และ เริ่มก่อตั้งตลาดหุ้น Dow Jone ขึ้นในปี คศ.1896 โดยนำหุ้น 12 บริษัท ที่จัดว่าเป็น Blue chip เข้ามาคำนวนดัชนี   พอหลังจากนั้นมา Dow ต้องการที่จะวิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้น และ ราคาหุ้น ด้วยความที่ Charles H. Dow เป็นนักการเงิน และ บรรณาธิการ   ในที่สุดเขาก็ได้พัฒนาหลักการวิเคราะห์ตลาดหุ้น จนเกิดเป็น Dow Theory เมื่อปลาย ศตวรรษที่19 นับแต่นั้นมา Dow Theory ก็ถูกนำมาพัฒนา ต่อยอดเรื่อยๆ และ Charles H. Dow ถูกยกย่องว่าเป็นบิดา "การวิเคราะห์ทางเทคนิค"

หลังจากที่ Charles Dow ได้เสียชีวิต (ธันวา คศ.1902) ก็มีหลายบุคคล ได้นำเอาแนวคิด Dow Theory ไปประยุกต์ต่อยอด โดยคนแรกที่นำไปใช้ คือ “Ralph Nelson” ผู้คิดค้นศาสตร์แห่งคลื่น Elliott Wave อันโด่งดัง และเขาก็ได้ออกหนังสือ “The ABC of Stock Speculation” ตีพิมพ์ในปี คศ.1912 และมีอีกบุคคลที่นำเอา Dow Theory ไปต่อยอด เขาผู้นั้นคือ “William Peter Hamilton” เขาได้อธิบายถึงองค์ประกอบต่างๆ ของ Dow Theory และต่อมาก็ได้เขียนหนังสือชื่อว่า “The Stock Market Barometer” ตีพิมพ์ในปี  คศ.1922 เมื่อ Hamilton ได้เสียชีวิตลงในปี คศ.1929 ก็มีบุคคลนามว่า “Robert Rhea” นำเอางานเขียนของ Hamilton มาประยุกต์ปรับปรุงเพิ่มเติม เขียนได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา และได้ตั้งชื่อว่า “The Dow Theory : An Explanation of Development and an Attempt to Define Its Usefulness as an Aid to Speculation” ตีพิมพ์ในปี คศ.1932

ตลาดขาขึ้น ระยะแรก “Renewed Confidence” ฟื้นฟูความเชื่อมั่น
ในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังคงมีมุมมองในแง่ลบ และทำให้แรงซื้อยังคงไม่สามารถชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่มีใครถือหุ้น ประกอบกับไม่มีปัจจัยข่าวดีๆ ที่ทำให้ราคาของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดดูค่อนข้างแย่เช่นนี้ ก็เป็นช่วงที่ลงทุนมองบางคงเห็นโอกาส ที่จะเริ่มสะสมหุ้นและ เป็นช่วงเวลาของผู้ทีมีความอดทน และใจเย็นพอ ที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้ จนกระทั่งราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัวขึ้น
ตลาดขาขึ้น ระยะที่สอง “Improved Earning” การเติบโตที่ดีขึ้น
 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่มีปัจจัยบวกต่างๆ ประดังประดาเข้ามา เริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจมากขึ้น ช่วงเวลานี้จัดว่าเป็นช่วงที่สามารถลงทุนทำกำไรได้ง่าย เพราะมีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดเพิ่มมากขึ้น
ตลาดขาขึ้น ระยะที่สาม “Rampant Speculation” เก็งกำไร อย่างบ้าคลั่ง
เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่ง เก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ หรือ สภาวะฟองสบู่ ในระยะสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด มูลค่าที่สูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ     จึงทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรออกมาอย่างหนักหน่วง และทำให้กลายเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการกลับตัวของตลาดขาลงระยะที่หนึ่ง


ตลาดขาลง ระยะที่หนึ่ง  “Abandoned Hope” ละทิ้งความหวัง
หากการ “ฟื้นฟูความเชื่อมั่น” เป็นระยะที่หนึ่งของขาขึ้น “ละทิ้งความหวัง” ก็คือระยะแรกของขาลง   นักลงทุนบางคนที่เริ่มมองเห็นสัญญาณไม่ดี จะเริ่มไหวตัว เพราะว่าธุรกิจต่างๆ ณ ตอนนั้น มันไม่เป็นไปอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ และเริ่มเทขายหุ้นทำกำไรออกมา แต่ก็มีนักลงทุนกลุ่มอื่นๆบางคนยังคงลุ่มหลงอยู่ในตลาดและเมามันส์ในการไล่ซื้อในราคาที่สูงลิ่ว จึงยากต่อการที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่โหมดกลับตัว และอาจจะกำลังเข้าสู่ขาลง แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นจุดเริ่มต้นของโหมดกลับตัว เพราะเมื่อตลาดปรับตัว   ย่อลง แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาด กำลังจะเข้าสู่ขาลง และยังมีมุมมองต่อตลาดในแง่บวก ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวย่อลงพอประมาณ จะเห็นแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง   Hamilton ได้กล่าวไว้ การกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้ จะรวดเร็วรุนแรง ดังเช่น Hamilton เคยได้วิเคราะห์ไว้ เกี่ยวกับการกลับตัว ที่ไม่มีรูปแบบนัยยะสำคัญนี้ว่า ส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อารมณ์ประมาณว่า พยายามยื้อ Sentiment ให้ดูดีไว้ก่อน ยังไม่ยอมให้ตลาดพักตัวลงแรง เพราะทำให้นักลงทุนขวัญเสีย  อย่างไรก็ตามราคาหุ้นจะไม่ทำ High ใหม่ แต่จะค่อยๆกระแทก Low ลงไปทำ New Low เรื่อยๆ  นั่นเป็นการยืนยันถึงระยะที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง ระยะที่สอง “Decreased Earning” การเติบโตลดลง
เหมือนกับตลาดในขาขึ้น ระยะทีสอง เป็นระยะที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เทรนแนวโน้มเด่นชัด แต่จะแตกต่างตรงที่ ราคาหุ้น,ดัชนีตลาด ไหลร่วงลง ธุรกิจต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการ ดาดการณ์รายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการธุรกิจแย่ลง แรงขายหุ้นจึงตามมาอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตื่นกลัวให้แก่นักลงทุนในตลาดเป็นอย่างมาก
ตลาดขาลง ระยะที่สาม “Distressed Selling” ความทุกข์
ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น มีความดาดหวัง มีความโลภ มากจนเกินไป และในตลาดขาลงระยะสุดท้าย ความโลภ ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าหุ้นที่ประเมินต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุน ทุกคนในตลาดพยายามจะออกมาจากตลาด เมื่อมีปัจจัยร้ายๆเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ ย่ำแย่ และไม่มีนักลงทุนต้องการที่จะลงทุน และตลาดจะยังคงไหลร่วงลง จนกระทั่งปัจจัยร้ายๆทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว ราคาหุ้นได้สะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว การเริ่มต้นใหม่ของวัฏจักร กลับมาอีกครั้ง

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ตั้งเป้าหมายการทำกำไรของ Divergence

ตั้งเป้าหมายการทำกำไรของ Divergence


            ต่อไปนี้จะนำเสนอ Set up การเทรดจริงๆของ 1 ใน Market Wizard ที่ชื่อว่า Linda Bradford Raschke ซึ่งเป็น Set up ที่เขาได้ใช้เทรดจริงๆ ใน Hedge fund ของเขา โดยเป็นการ Swing trade สั้น ๆ โดยใช้เครื่องมือ MACD ที่เขาปรับค่าเล็กน้อย เพื่อหาสัญญาณ Divergence และใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการตั้งเป้าหมายในการทำกำไรของ Set up นี้

เครื่องมือ
          - MACD : ปรับค่าเป็น 3 กับ 10 และใช้ Signal line เท่ากับ 16
          - เส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 วัน
วิธีการเทรด
          - หาช่วงที่ราคาเกิดสัญญาณ Divergence กับ MACD และตั้งเป้าหมายการทำกำไรที่เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน

            ตัวอย่างฝั่ง Long ในการเทรด Set up นี้

            ตัวอย่างฝั่ง Short

            จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ตัวอย่าง เป็นการเทรดสั้น ๆ เพราะเนื่องด้วยสัญญาณ Divergence ไม่ได้บ่งชี้ว่าราคาจะกลับตัว แต่เป็นสัญญาณราคามีโอกาสพักตัวในช่วงนี้ ซึ่งตรงนี้เทรดเดอร์หลายคนชอบนำไปใช้แบบผิดๆ คิดว่าการเทรด Divergence คือการหาจุดกลับตัว ซึ่งตรงนี้ต้องระวัง จากทั้ง 2 ตัวอย่างทั้งฝั่ง Long และฝั่ง Short ราคาไม่ได้กลับตัวในรอบใหญ่เลย เป็นเพียงการย่อตัวระยะสั้น แล้วเคลื่อนไหวไปต่อตามทิศทางของแนวโน้มเดิม แต่อย่างไรก็ดีเราสามารถเก็บกำไรในจังหวะที่ราคาพักตัวได้ โดย Set up นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บจังหวะดังกล่าว

ทีมงาน : forexfactorythai.com

Stop loss ใช่ว่าจะดีเสมอไป

Stop loss ใช่ว่าจะดีเสมอไป


            บทความนี้ไม่ได้จะมากล่าวโจมตีว่าการใช้ Stop loss นั้นไม่ดี มันทำให้ Performance การเทรดเราแย่ลง ไม่ใช่นะครับ แค่จะนำเสนออีกแนวทางหนึ่งที่มากลุ่มเทรดเดอร์กลุ่มนึง ได้ทำการทดสอบว่าการใช้ Stop loss นั้นมันไม่ได้ช่วยให้ผลการเทรดโดยรวมดีขึ้น แต่หนำซ้ำกลับทำร้ายกลยุทธ์ของเราเองด้วยซ้ำ

            ซึ่งหากใครเทรดโดยใช้ Stop loss อยู่แล้ว แล้วโอเครกับผลการเทรด ก็ถือว่าเยี่ยมเลยครับ แต่สำหรับคนที่เทรดโดยใช้ Stop loss แล้วไม่กำไร ลองเปลี่ยนแนวคิดมาใช้วิธีนี้กันดูนะครับ

            แนวคิดนี้ถูกนำเสนอโดย Larry Connors และ Cesar Alvarez เป็น 2 เทรดเดอร์สาย Swing trade ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการเทรด และมีชื่อเสียงในหมู่เทรดเดอร์สายนี้ เขาได้ทำการทดสอบกลยุทธ์ของเขาที่มี Stop loss กับที่ไม่มี Stop loss ปรากฎว่าการใช้ Stop loss ได้ผลที่แย่กว่า ไม่ว่าจะใช้ Stop loss ณ ระดับใดก็ตาม

            ตัวอย่างการทดสอบ
            เงื่อนไขการเทรดจะเทรดบนหุ้นที่เคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (แนวโน้มใหญ่เป็นขาขึ้น) และซื้อเมื่อราคาย่อตัวทำ Low ต่ำสุดในรอบ 10 วัน (ตามหลัก Swing trade ซื้อเมื่อราคาย่อตัว) และขายเมื่อราคาขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน (ขายเมื่อราคาดีดตัวกลับ) และใช้ Stop ตามจำนวน X% ตามที่กำหนด     ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังตารางนี้

เปลี่ยนจากตารางมาเป็นกราฟ

ผลลัพธ์ที่ทดสอบ

            จะเห็นได้ว่ายิ่งบีบให้ Stop loss แคบเท่าไหร่ ผลตอบแทนยิ่งแย่ลงเท่านั้น และที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ Stop loss ตั้งแต่ 1% จนถึง 50% ล้วนแพ้ผลตอบแทนของระบบที่ไม่มี Stop loss ทำให้เขามองว่าการนำ Stop loss เข้ามาใช้ อาจส่งผลไม่ดีต่อผลการเทรด ซึ่งเขาได้อธิบายไว้ว่า ในตลาดประกอบด้วยผู้เล่นที่หลากหลาย และมันมีผู้เล่นกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “Stop hunt” ที่คอยหาจังหวะลากราคาให้รายย่อยอย่างเราๆ โดน Stop loss ออกไป แล้วค่อยตบกลับมา

            อย่างที่กล่าวไว้ช่วงแรกว่า ไม่ได้บอกว่า Stop loss นั้นไม่ดีนะครับ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเทรดที่ไม่ใช้ Stop loss ซึ่งกลยุทธ์ของเขาเป็น Swing trade มันอาจจะเหมาะกับการไม่ใช้ Stop ก็ได้ แต่ถ้าเราเป็นสาย Breakout หรือ Trend follow อันนี้ส่วนตัวผมก็คิดว่าการใช้ Stop loss ก็น่าจะเหมาะสมกว่าครับ อันนี้เทรดเดอร์แต่ละคนก็ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ตัวเองใช้เทรดว่าเป็นอย่างไร ศึกษาว่ามันใช้อะไรถึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ADX กับการตี Trend line

ADX กับการตี Trend line

 

            ตามที่ทราบกันดีว่า ADX เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความเป็นแนวโน้ม คือถ้ามันให้ค่ามากแปลว่าช่วงนั้นราคาวิ่งเป็นไปอย่าง “มีแนวโน้ม” (ไม่ว่าจะแนวโน้มขาขึ้น หรือแนวโน้มขาลง) แต่ถ้ามันให้ค่าน้อยแปลว่าช่วงนั้นราคาเคลื่อนไหวไปเป็นอย่าง “ไม่มีแนวโน้ม”

            ซึ่งในช่วงที่ ADX นั้นต่ำ มันหมายความได้อีกอย่างหนึ่งคือ ราคาได้ถึงจุดสมดุลแล้ว จึงไม่มีการขยับไปในทิศทางใดต่อ ซึ่งธรรมชาติของราคานั้นมันไม่ได้อยู่นิ่งๆได้ตลอด เดี๋ยวมันก็จะหามีปัจจัยใหม่เข้ามาและทำให้ราคานั้นไปหาจุดสมดุลใหม่ ซึ่ง ADX ก็จะกลับมาให้ค่าสูงในช่วงที่ราคากำลังไปหาจุดสมดุลใหม่ หรือช่วงที่เป็นแนวโน้มนั้นเอง

            ตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถนำ ADX มาช่วยในการเทรดได้เช่นกัน โดยในช่วงที่ค่า ADX ต่ำๆ ราคาไม่เคลื่อนไหวไปไหนมาสักพัก ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า เดี๋ยวอีกสักพักราคาจะกลับมาเป็นแนวโน้ม ให้เราตีเส้น Trend line เพื่อหาจังหวะนั้น ในการเข้าไปเทรด

            ตัวอย่างแรก USDAUD

ในช่วงที่ ADX ต่ำๆ โดยในทีนี้ให้ดูช่วงที่ ADX ต่ำกว่าระดับ 20 (ลูกศรสีดำ) เป็นช่วงที่ราคาแกว่งตัวนิ่งๆ มาสักพัก เราสามารถลากเส้น Trend line เพื่อรอดูทิศทางการ Breakout ของราคา และถ้าราคาไปในทิศทางใดก็เทรดตามทิศทางนั้น ในที่นี้ราคาได้ทะลุขึ้น (วงกลมสีแดง) และจะเห็นได้ว่าหลักจากนั้นราคาได้วิ่งขึ้นต่อในแนวโน้มขาขึ้น ตามทิศทางที่ราคาได้เลือกทะลุ


            ตัวอย่างที่สอง USDAUD เหมือนเดิมแต่ต่างช่วงเวลา

            เริ่มจากฝั่งทางซ้ายมือ ราคาซึมตัวลงมาต่อเนื่อง จน ADX ให้ค่าต่ำกว่าระดับ 20 ให้เราเริ่มลากเส้น Trend line เพื่อรอจังหวะการ Breakout โดยจะเข้าเทรดก็ต่อเมื่อราคาได้เลือกทิศทางจากการทะลุเส้น Trend line

            ส่วนฝั่งขวามือ เหตุการณ์คล้ายกัน เมื่อ ADX ลงมาต่ำ และเกิดการทะลุเส้น Trend line ขึ้นมาก็จะเห็นได้ว่าราคาวิ่งขึ้นต่อตามทิศทางที่ราคาทะลุ

            ซึ่งนี่เป็นการนำเสนอการผสมผสานการลากเส้น Trend line กับการใช้เครื่องมือ ADX ในการประกอบการเทรด ซึ่งมันจะช่วยทำให้การเทรดของเรานั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดีกว่าการที่เราไปใช้เส้น Trend line อย่างเดียว

ทีมงาน : forexfactorythai.com