วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 1

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตอนที่ 1



Dow Theory ถูกคิดค้นโดย Charles H. Dow ย้อนไปเมื่อปี คศ.1882 Charles H. Dow และ Edward Jone สองคนเพื่อนรัก ร่วมก่อตั้ง หนังสือพิมพ์ "The Wall Street Journal" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน, เศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นบรรณาธิการ อีกด้วย ภายหลังจากก่อตั้งหนังสือพิมพ์เรียบร้อยแล้ว Charles H. Dow ต้องการจะเขียนข่าวเกี่ยวกับ การเงิน การลงทุน แต่ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีตลาดหุ้น ที่จะให้เขาได้นำมาเขียนข่าว ดังนั้น Charles H. Dow และ Edward Jone ทั้งสองจึงมีแนวคิด และ เริ่มก่อตั้งตลาดหุ้น Dow Jone ขึ้นในปี คศ.1896 โดยนำหุ้น 12 บริษัท ที่จัดว่าเป็น Blue chip เข้ามาคำนวนดัชนี   พอหลังจากนั้นมา Dow ต้องการที่จะวิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้น และ ราคาหุ้น ด้วยความที่ Charles H. Dow เป็นนักการเงิน และ บรรณาธิการ   ในที่สุดเขาก็ได้พัฒนาหลักการวิเคราะห์ตลาดหุ้น จนเกิดเป็น Dow Theory เมื่อปลาย ศตวรรษที่19 นับแต่นั้นมา Dow Theory ก็ถูกนำมาพัฒนา ต่อยอดเรื่อยๆ และ Charles H. Dow ถูกยกย่องว่าเป็นบิดา "การวิเคราะห์ทางเทคนิค"

หลังจากที่ Charles Dow ได้เสียชีวิต (ธันวา คศ.1902) ก็มีหลายบุคคล ได้นำเอาแนวคิด Dow Theory ไปประยุกต์ต่อยอด โดยคนแรกที่นำไปใช้ คือ “Ralph Nelson” ผู้คิดค้นศาสตร์แห่งคลื่น Elliott Wave อันโด่งดัง และเขาก็ได้ออกหนังสือ “The ABC of Stock Speculation” ตีพิมพ์ในปี คศ.1912 และมีอีกบุคคลที่นำเอา Dow Theory ไปต่อยอด เขาผู้นั้นคือ “William Peter Hamilton” เขาได้อธิบายถึงองค์ประกอบต่างๆ ของ Dow Theory และต่อมาก็ได้เขียนหนังสือชื่อว่า “The Stock Market Barometer” ตีพิมพ์ในปี  คศ.1922 เมื่อ Hamilton ได้เสียชีวิตลงในปี คศ.1929 ก็มีบุคคลนามว่า “Robert Rhea” นำเอางานเขียนของ Hamilton มาประยุกต์ปรับปรุงเพิ่มเติม เขียนได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา และได้ตั้งชื่อว่า “The Dow Theory : An Explanation of Development and an Attempt to Define Its Usefulness as an Aid to Speculation” ตีพิมพ์ในปี คศ.1932

ตลาดขาขึ้น ระยะแรก “Renewed Confidence” ฟื้นฟูความเชื่อมั่น
ในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังคงมีมุมมองในแง่ลบ และทำให้แรงซื้อยังคงไม่สามารถชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่มีใครถือหุ้น ประกอบกับไม่มีปัจจัยข่าวดีๆ ที่ทำให้ราคาของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดดูค่อนข้างแย่เช่นนี้ ก็เป็นช่วงที่ลงทุนมองบางคงเห็นโอกาส ที่จะเริ่มสะสมหุ้นและ เป็นช่วงเวลาของผู้ทีมีความอดทน และใจเย็นพอ ที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้ จนกระทั่งราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัวขึ้น
ตลาดขาขึ้น ระยะที่สอง “Improved Earning” การเติบโตที่ดีขึ้น
 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่มีปัจจัยบวกต่างๆ ประดังประดาเข้ามา เริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่น มั่นใจมากขึ้น ช่วงเวลานี้จัดว่าเป็นช่วงที่สามารถลงทุนทำกำไรได้ง่าย เพราะมีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดเพิ่มมากขึ้น
ตลาดขาขึ้น ระยะที่สาม “Rampant Speculation” เก็งกำไร อย่างบ้าคลั่ง
เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่ง เก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ หรือ สภาวะฟองสบู่ ในระยะสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด มูลค่าที่สูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ     จึงทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรออกมาอย่างหนักหน่วง และทำให้กลายเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการกลับตัวของตลาดขาลงระยะที่หนึ่ง


ตลาดขาลง ระยะที่หนึ่ง  “Abandoned Hope” ละทิ้งความหวัง
หากการ “ฟื้นฟูความเชื่อมั่น” เป็นระยะที่หนึ่งของขาขึ้น “ละทิ้งความหวัง” ก็คือระยะแรกของขาลง   นักลงทุนบางคนที่เริ่มมองเห็นสัญญาณไม่ดี จะเริ่มไหวตัว เพราะว่าธุรกิจต่างๆ ณ ตอนนั้น มันไม่เป็นไปอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ และเริ่มเทขายหุ้นทำกำไรออกมา แต่ก็มีนักลงทุนกลุ่มอื่นๆบางคนยังคงลุ่มหลงอยู่ในตลาดและเมามันส์ในการไล่ซื้อในราคาที่สูงลิ่ว จึงยากต่อการที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่โหมดกลับตัว และอาจจะกำลังเข้าสู่ขาลง แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นจุดเริ่มต้นของโหมดกลับตัว เพราะเมื่อตลาดปรับตัว   ย่อลง แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาด กำลังจะเข้าสู่ขาลง และยังมีมุมมองต่อตลาดในแง่บวก ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวย่อลงพอประมาณ จะเห็นแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง   Hamilton ได้กล่าวไว้ การกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้ จะรวดเร็วรุนแรง ดังเช่น Hamilton เคยได้วิเคราะห์ไว้ เกี่ยวกับการกลับตัว ที่ไม่มีรูปแบบนัยยะสำคัญนี้ว่า ส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อารมณ์ประมาณว่า พยายามยื้อ Sentiment ให้ดูดีไว้ก่อน ยังไม่ยอมให้ตลาดพักตัวลงแรง เพราะทำให้นักลงทุนขวัญเสีย  อย่างไรก็ตามราคาหุ้นจะไม่ทำ High ใหม่ แต่จะค่อยๆกระแทก Low ลงไปทำ New Low เรื่อยๆ  นั่นเป็นการยืนยันถึงระยะที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง ระยะที่สอง “Decreased Earning” การเติบโตลดลง
เหมือนกับตลาดในขาขึ้น ระยะทีสอง เป็นระยะที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เทรนแนวโน้มเด่นชัด แต่จะแตกต่างตรงที่ ราคาหุ้น,ดัชนีตลาด ไหลร่วงลง ธุรกิจต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการ ดาดการณ์รายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการธุรกิจแย่ลง แรงขายหุ้นจึงตามมาอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตื่นกลัวให้แก่นักลงทุนในตลาดเป็นอย่างมาก
ตลาดขาลง ระยะที่สาม “Distressed Selling” ความทุกข์
ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น มีความดาดหวัง มีความโลภ มากจนเกินไป และในตลาดขาลงระยะสุดท้าย ความโลภ ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าหุ้นที่ประเมินต่ำมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุน ทุกคนในตลาดพยายามจะออกมาจากตลาด เมื่อมีปัจจัยร้ายๆเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ ย่ำแย่ และไม่มีนักลงทุนต้องการที่จะลงทุน และตลาดจะยังคงไหลร่วงลง จนกระทั่งปัจจัยร้ายๆทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว ราคาหุ้นได้สะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว การเริ่มต้นใหม่ของวัฏจักร กลับมาอีกครั้ง

ทีมงาน : forexfactorythai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น